MRP คืออะไร? เข้าใจระบบวางแผนวัสดุใน 5 นาที และเหตุผลที่ธุรกิจต้องเชื่อมต่อกับ ERP

​​​ในขณะที่กลุ่มอุสาหกรรมการผลิตมีการแข่งขันที่สูงขึ้น หนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่ธุรกิจการผลิตจะนำมาใช้คือ MRP หรือ Material Requirements Planning (การวางแผนความต้องการวัสดุ) แต่ MRP คืออะไรกันแน่? และทำไมการทำงานร่วมกับระบบ ERP ถึงทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น? บทความนี้จะพาคุณไปทำความเข้าใจหลักการทำงานและความสำคัญของ MRP รวมถึงเหตุผลว่าทำไมการผสมผสานร่วมกับ ERP จึงเป็นกุญแจสู่ความสำเร็จ

MRP คืออะไร? 

ระบบ MRP เปรียบเสมือน "ผู้ช่วยวางแผน" สำหรับฝ่ายผลิต โดยระบบจะช่วยวางแผนและคำนวณความต้องการวัตถุดิบ ชิ้นส่วน และส่วนประกอบให้สอดคล้องกับแผนการผลิตหลัก (MPS) โดยมีเป้าหมายเพื่อให้มีวัสดุ "ที่ใช่ ปริมาณพอดี ในเวลาที่เหมาะสม" ลดปัญหาวัตถุดิบขาดหรือค้างสต็อก ช่วยให้การผลิตเดินหน้าต่อเนื่องและควบคุมต้นทุนได้มีประสิทธิภาพ


a factory filled with lots of orange machines

ระบบการทำงาน MRP ประกอบด้วย 3 หลักสำคัญ ได้แก่ :

​​1. แผนการผลิตหลัก (Master Production Schedule - MPS) : นี่คือหัวใจสำคัญของระบบ MPS จะระบุรายละเอียดของสินค้าสำเร็จรูปที่ต้องการผลิต รวมถึงชนิด, จำนวน, และกำหนดส่งมอบในแต่ละช่วงเวลา เปรียบเสมือน "ตารางการสั่งงาน" สำหรับการผลิต


​2. รายการวัสดุ (Bill of Materials - BOM) : คือรายการหรือสูตรการผลิต ที่ใช้แสดงข้อมูลต่าง ๆ ของสินค้า วัตถุดิบ, ส่วนประกอบย่อย, และชิ้นส่วนต่างๆ ที่จำเป็นในการผลิตสินค้าสำเร็จรูปแต่ละหน่วย รวมถึงปริมาณที่ต้องใช้ของแต่ละรายการ


​3. ข้อมูลสถานะสินค้าคงคลัง (Inventory Status) : ข้อมูลนี้จะแสดงปริมาณวัตถุดิบและส่วนประกอบทุกชนิดที่มีอยู่ในคลังสินค้า ณ ปัจจุบัน รวมถึงสถานะต่างๆ เช่น ปริมาณที่พร้อมใช้งาน, ปริมาณที่ถูกจองไว้, หรือปริมาณที่กำลังรอการตรวจสอบ


a machine that is inside of a building

เมื่อระบบ MRP ได้รับข้อมูลทั้ง 3 ส่วนจะทำการเข้าสู่กระบวนการทำงานเพื่อสร้างแผนการจัดซื้อและการผลิตที่มีประสิทธิภาพ :

ขั้นตอน

1. วิเคราะห์ความต้องการ 

(Gross Requirements)


2. คำนวณความต้องการสุทธิ 

(Net Requirements)


3. เปรียบเทียบกับสินค้าคงคลัง 

(Planned Order Receipts)


4. วางแผนจัดซื้อ/ผลิต 

(Planned Order Releases)


รายละเอียด

MRP จะเริ่มต้นด้วยการวิเคราะห์ MPS เพื่อระบุความต้องการสินค้าสำเร็จรูปในแต่ละช่วงเวลาตามแผน

การคำนวณวัตถุดิบและส่วนประกอบต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับการผลิตสินค้าสำเร็จรูปในแต่ละช่วงเวลา

ระบบจะนำความต้องการวัตถุดิบที่คำนวณได้มาเปรียบเทียบกับปริมาณสินค้าคงคลังที่มีอยู่ เพื่อระบุปริมาณวัตถุดิบที่ยังขาด

หากปริมาณวัตถุดิบคงคลังไม่เพียงพอ ระบบก็จะวางแผนการจัดซื้อวัตถุดิบที่ต้องการจาก Suppliers โดยจะพิจารณาถึง (Lead Time) ในการจัดซื้อ หรือวางแผนการผลิตส่วนประกอบภายในองค์กรเอง โดยคำนึงถึง Lead Time ในการผลิตเช่นกัน


เหตุผลที่ทำไมหลายธุรกิจถึงเลือกใช้

MRP ร่วมกับ ERP 

1. การเชื่อมโยงข้อมูลแบบเรียลไทม์ :

การเชื่อมโยงของข้อมูลจาก MRP จะถูกอัปเดตและซิงค์เข้ากับระบบ ERP ทันที เช่น คำสั่งซื้อ, การผลิต, การจัดส่ง และสินค้าคงคลัง ทำให้ทุกแผนกสามารถเห็นข้อมูลตรงกัน เพื่อช่วยลดความผิดพลาดในการสื่อสารได้



​​ 2. วางแผนและจัดสรรทรัพยากรที่ดี :

ระบบ ERP จะดึงข้อมูลจาก MRP เพื่อนำไปจัดสรรทรัพยากรต่าง ๆ เช่น แรงงาน, เครื่องจักร และวัตถุดิบได้อย่างเหมาะสม เพื่อลดการขาดแคลนทรัพยากรและการสั่งซื้อเกินความจำเป็น



3. บริหารจัดการสินค้าคงคลังอย่างมีประสิทธิภาพ :

เมื่อมีการจัดการที่มีประสิทธิภาพ การทำงานของระบบ MRP จะคำนวณความต้องการวัสดุจากแผนการผลิต และ ERP จะติดตามสถานะสินค้าคงคลัง ทำให้สามารถลดต้นทุนการจัดเก็บและป้องกันการขาดแคลนสินค้าได้



​​ 4. ลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต :

การจัดการข้อมูลที่เป็นระบบจะช่วยลดความซ้ำซ้อน ลดการผลิตเกินและของเสีย ทำให้การผลิตมีคุณภาพหรือก็คือมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น



5. ตัดสินใจที่รวดเร็วและแม่นยำ :

ข้อมูลจาก MRP และ ERP ที่เชื่อมโยงกันก็จะเป็นตัวช่วยที่ทำให้ผู้บริหารสามารถวิเคราะห์สถานะการผลิตและการจัดซื้อได้ทันที ทำให้การตัดสินใจเป็นไปอย่างรวดเร็วและแม่นยำ


สรุป

การใช้ MRP ร่วมกับ ERP ก็เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการกระบวนการผลิตและทรัพยากรขององค์กร ถึงแม้ว่า MRP จะมีความสามารถในการวางแผนความต้องการในการใช้วัสดุได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่การทำงานร่วมกับ ERP ก็จะช่วยให้องค์กรหรือผู้บริหารสามารถวางแผนการผลิต บริหารจัดการทรัพยากรได้อย่างเหมาะสม ช่วยลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน และตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำมากยิ่งขึ้น

สนใจติดตั้งระบบ ERP ติดต่อเราเพื่อรับคำปรึกษา  ติดต่อเรา


Tags
Our blogs
Archive
Sign in to leave a comment
เพิ่มศักยภาพการผลิตด้วย Odoo ERP