เพื่อให้ธุรกิจขยายการเติบโตและเดินหน้าต่อไป บุคคลที่คุณอาจจะต้องมีไว้ข้างโต๊ะทำงานนั่นก็คือ
ที่ปรึกษาด้านธุรกิจ แต่ก่อนจะตัดสินใจมีที่ปรึกษาดีๆสักคน คุณอาจต้องพิจารณาถึงคุณสมบัติต่างๆ
ให้รอบคอบเสียก่อน โดยเริ่มจาก
1. รับฟังความต้องการของคุณ
ทักษะการฟัง ความใส่ใจในรายละเอียดที่คุณต้องการ เป็นเรื่องสำคัญมากที่สุด
ขอให้คุณแน่ใจว่า ช่วงเวลาที่ได้พูดคุยกันก่อนตกลงดีลนั้น ว่าที่ที่ปรึกษามีการตั้งคำถามที่เป็นประโยชน์
รับฟังคุณอย่างแท้จริง โดยไม่ตัดสิน ไม่รีบตัดบทคุณ ทำความเข้าใจไปด้วยกันกับคุณ
ว่าตอนนี้คุณมีเป้าหมายอะไร คุณจะรู้สึกสบายใจที่ได้พูดคุยกัน หรืออาจเป็นความรู้สึกว่าเคมีเข้ากัน
โหงวเฮ้งผ่าน ก็เป็นสัญญานว่าจะช่วยให้คุณทำงานราบรื่นขึ้น
2. ความน่าเชื่อถือ ความรู้ ความสามารถ
นอกเหนือจากชื่อเสียงของบริษัท ใบรับรองจากสถาบันหรือหน่วยงานมากมายที่เขาคนนั้นมีแล้ว
อาจรวมถึงคลังความรู้ที่อยู่ในตัวเขา เพราะที่ปรึกษาที่มีคุณภาพ พวกเขาจะไม่หยุดนิ่งในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ
หมั่นเพิ่มเติมข้อมูล อัพเดตตลอดเวลา อาจเป็นเรื่องเฉพาะเจาะจงมากๆ หรือเป็นเรื่องทั่วไปที่เกี่ยวข้อง
กับแวดวงธุรกิจของคุณ เขาเหมือนเป็นเพื่อนที่ย่อยเนื้อหายากๆมาบอกเล่ากับคุณ
คุณอาจจะถามคำถามทั่วไปว่า ช่วงนี้มีหนังสืออะไรดีๆ หรือข่าวอะไรที่สำคัญบ้าง
และคำตอบที่ได้รับสอดคล้องกับสิ่งที่คุณต้องการบ้างหรือไม่ หรือในการปรึกษาที่ผ่านมา
เคสตัวอย่างที่คล้ายกัน ช่วยให้ผลประกอบการไปในทิศทางที่ดีขึ้นอย่างไร
3. ความตรงต่อเวลา มีมารยาททางธุรกิจ
ที่ปรึกษามืออาชีพอาจมีใบรับรองมากกว่า 10 ใบ แต่ถ้านัดแล้วมาสาย ด้วยเหตุผลทั่วไปอย่างเช่น
รถติด คุณก็ตัดสินใจได้เลยว่า เขาคนนั้นไม่ควรมาเป็นที่ปรึกษาให้คุณ ขอให้คุณเลือกจากนิสัยและพฤติกรรมของเขาร่วมด้วย ‘มาก่อนเวลา 2 ชั่วโมง ย่อมดีกว่ามาสาย 1 นาที’ เสมอ รวมไปถึงภาษากายที่เหมาะสม
เพราะคุณอาจจะต้องแนะนำเขาให้รู้จักกับหุ้นส่วนหรือบุคคลสำคัญอื่นๆ การแต่งกาย สูท บุคลิกภาพ
ความสะอาด การจดบันทึก มีความพร้อมแค่ไหน
4. การตอบสนอง ไหวพริบ การสื่อสาร
เมื่อที่ปรึกษารับรู้ความต้องการทั้งหมดของคุณแล้ว การประเมินสถานการณ์ทั้งหมด
วิเคราะห์ความเป็นไปได้ การตั้งสมมติฐาน วิธีแก้ไข ความมั่นใจที่เขาตอบกลับมานั้น
ควรมีช่วงจังหวะที่ไม่ช้าเกินไป มีไอเดียที่อาจอยู่นอกกรอบเดิมๆที่คุณเคยรับรู้มา
เขาจะสามารถอธิบายให้คุณเริ่มเห็นภาพเดียวกันได้อย่างนุ่มนวล
แล้วคุณจะเริ่มเห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ ในการหาทางออกจากสถานการณ์นี้
5. การทำงานเป็นทีม
ปฏิเสธไม่ได้ว่ายุคนี้เป็นยุคที่การทำงานเป็นทีม การร่วมมือกัน จะช่วยให้ทุกอย่างพุ่งทะยานสู่ความ
สำเร็จได้เร็วขึ้น เพราะแต่ละคนต่างมีองค์ความรู้และประสบการณ์การแก้ไขปัญหาหลากหลายรูปแบบ
หากธุรกิจของคุณต้องการต่อยอดออกไปให้อยู่รอด ยอดเยี่ยม และยั่งยืน
เราขอแนะนำว่าที่ปรึกษาควรมีมากกว่า 1 ซึ่งคุณสามารถบอกกับที่ปรึกษาตรงๆ
ว่าคุณต้องการอะไรเป็นพิเศษ และเขาสามารถจัดหาทีมที่เหมาะสมให้คุณได้หรือไม่
6. ถูกต้องหรือถูกใจ หรือทั้งสองอย่าง
ในการเปลี่ยนแปลงแนวทางการทำงาน หรือเริ่มวิธีใหม่ๆ ตามที่ที่ปรึกษาแนะนำ นอกจากผู้บริหารแล้ว พนักงานภายในองค์กรของคุณ อาจเกิดการต่อต้าน หรือไม่เห็นด้วย เพราะเหตุผลต่างๆ และเสียงตอบรับนั้นอาจมีผลกับการตัดสินใจของคุณ แต่ขอให้แน่ใจว่า คุณต้องการที่จะเพิ่มผลกำไรอย่างจริงจัง ต้องการผลลัพธ์ในเชิงบวกอย่างแท้จริง คุณอาจแนะนำที่ปรึกษาให้รู้จักกับคนในองค์กร และให้พื้นที่ในการทำความรู้จัก
แชร์ความคิดเห็นกัน เพราะพนักงานที่อยู่หน้างาน จะสามารถบอกได้ดีที่สุด ว่าตอนนี้เนื้องานเป็นอย่างไร
ที่ปรึกษาของคุณ ก็จะสามารถเห็นรอยรั่วเล็กๆบางอย่าง เพื่อซ่อมก่อนที่รอยนั้นจะขยายใหญ่ขึ้น
7. จรรยาบรรณ การรักษาความลับ
ก่อนที่จะเปิดเผยข้อมูลทางธุรกิจ เพื่อให้ที่ปรึกษาของคุณทำงานได้อย่างเต็มที่
หากบริษัทของคุณมีขนาดใหญ่ มีข้อมูลจำนวนมาก หรือมีความอ่อนไหวสูง
อาจจะมีการตกลงกันทางสัญญาให้เรียบร้อย เพื่อให้มั่นใจว่าข้อมูลต่างๆจะไม่รั่วไหลออกไป
และมีผลในทางกฎหมาย เผื่อมีเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้น
สำหรับธุรกิจของคุณ อาจมีผู้ตัดสินใจในการลงทุนมากกว่า 1 ท่าน คุณอาจจะร่วมประชุมกันก่อน
ถึงเป้าหมายที่อยากไปให้ถึง และคุณสมบัติเฉพาะที่ที่ปรึกษาต้องมีเบื้องต้น เพื่อคัดเลือกคนที่ใช่ให้มาทำงานร่วมกันกับคุณ แต่ถ้าคุณไม่รู้ว่าควรเริ่มจากตรงไหน หรือตามหาที่ปรึกษามานานแล้วแต่ยังไม่แน่ใจ
ทางไซเบอร์เนติกส์พลัส เรายินดีที่จะช่วยเหลือคุณเสมอ ด้วยบริการ Biz Consult
ทั้งแบบ Private และ Buffet ติดต่อเราได่ 24/7 ค่ะ :)