ประเทศไทยเผชิญ 3 กับดัก

(Thailand with Triple Trap)

        การพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืนเพื่อรองรับสภาพการเปลี่ยนแปลงจากกระแสโลกาภิวัตน์ที่เกิดขึ้นในขณะนี้และคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต จำเป็นต้องสร้างเศรษฐกิจให้แข็งแกร่งและเติบโตอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตและการอยู่ดีกินดีของประชากรของประเทศในระยะยาว ตามทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์การเติบโตอย่างยั่งยืนมาจากการขยายตัวของ “ผลิตภาพรวม” (Total factor productivity: TFP) ไม่ใช่จากการขยายตัวของปัจจัยการผลิตได้แก่ แรงงาน ทุนและวัตถุดิบ ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญที่เป็นตัวกำหนดอัตราการเติบโตของผลิตภาพรวม (TFP) คือ ความสามารถของประเทศในการพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม และการนำองค์ความรู้เหล่านั้นมาใช้เพิ่มผลิตภาพและสร้างนวัตกรรมในภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาคการผลิตและภาคบริการ

    ในปัจจุบันประเทศไทยต้องเผชิญกับ 3 กับดักที่เป็นอุปสรรคต่อการเติบโตต่อไปในอนาคต ได้แก่ กับดักประเทศรายได้ปานกลาง (Middle income trap) กับดักความไม่เท่าเทียม (Inequality trap) และกับดักความไม่สมดุลของการพัฒนา (Imbalance trap) อีกทั้งยังมีปัญหาเชิงโครงสร้างที่สะสมมาเป็นเวลานานส่งผลให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันต่ำ โดยหากพิจารณาผลการพัฒนาภาคอุตสาหกรรม ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา พบว่าการเติบโตของ GDP ภาคอุตสาหกรรมเฉลี่ยอยู่ที่เพียงร้อยละ 3 ต่อปี การลงทุนเติบโตเฉลี่ยเพียงร้อยละ 2 ต่อปี มูลค่าการส่งออกภาคอุตสาหกรรมขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 5.4 ต่อปี และผลิตภาพรวม (TFP) ของภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นเฉลี่ยเพียงร้อยละ 0.7 ต่อปี

        เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมไทย ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศตามกรอบการพัฒนาประเทศไทย 4.0  สำนักงบประมาณ สำนักนายกรัฐมนตรี ได้จัดสรรงบประมาณรายจ่ายด้านยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรม เพื่อเสริมสร้างให้ประเทศไทยเป็นสังคมที่อยู่บนพื้นฐานขององค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพิ่มสัดส่วนค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาของประเทศต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ เพิ่มสัดส่วนจำนวนบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนาต่อประชากร เพิ่มสัดส่วนการลงทุนวิจัยและพัฒนาของภาคเอกชนต่อภาครัฐ ทั้งนี้ได้กรอบวงเงินงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ได้เสนอกรอบวงเงินงบประมาณด้าน ววน. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 24,400 ล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 1 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี

        ข้อมูลในปี พ.ศ. 2563 พบว่า ประเทศไทยมี Small and Medium Enterprises (SMEs) หรือ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จำนวน 3 ล้านกว่าราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 99.8 ของจำนวนวิสาหกิจทั้งประเทศ มีความสำคัญไม่ใช่เพียงเข้าถึงผู้บริโภค-ผู้รับบริการในทุกพื้นที่ แต่ยังมีการจ้างงานกว่า 12 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 82.2 ของการจ้างงานทั้งประเทศ และสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจจำนวน 6,551,718 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 42.2 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ดังนั้น SMEs จึงเป็นหนึ่งกลไกสำคัญ
ในการสร้างความเติบโตให้กับเศรษฐกิจในระยะยาว ซึ่งที่ผ่านมาประเทศไทยได้มีการสนับสนุนให้ SMEs ภาคอุตสาหกรรมเติบโตแข่งขันได้ในระดับสากลเพื่อเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศไทยก้าวพ้นกับดักประเทศรายได้ปานกลางให้ได้ อย่างไรก็ตามในปัจจุบัน SMEs ภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยยังประสบปัญหาระหว่างการดำเนินธุรกิจคือ ขาดการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ขาดนวัตกรรมและผลงานวิจัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ ขาดแหล่งข้อมูลที่จำเป็นหรือหน่วยงานที่สามารถเชื่อมโยงผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่ตรงตามความต้องการของภาคอุตสาหกรรมได้

        จากปัญหาดังกล่าวส่งผลให้หน่วยงานภาครัฐ เช่น สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์ (สอว.) เป็นต้น มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการจัดตั้งโครงการสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาของ SMEs ภาคอุตสาหกรรม โดยมีภารกิจหลัก คือ การสร้างกลไกเชื่อมโยงระหว่างผู้ให้บริการเทคโนโลยี (Technology service providers) กับผู้ใช้เทคโนโลยี (Technology users) ในรูปแบบของการจัดหาผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค ส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมสู่การพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ด้วยกลไกการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสม

        โดยที่ Cybernetics+ เป็นอีกหน่วยงานที่ให้บริการด้านที่ปรึกษาทางธุรกิจ (Business Consult)  การปรับตัวเข้าสู่ยุคดิจิทัล (Digital Solutions) และความปลอดภัยของข้อมูล (Data Security) ซึ่งเป็นการบูรณาการองค์ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญของ Cybernetics+ เพื่อยกระดับขีดความสามารถด้านการแข่งขันทางธุรกิจของ SMEs ภาคอุตสาหกรรม และจุดมุ่งหมายสูงสุดในการหลุดกับดักประเทศรายได้ปานกลาง (Middle income trap) กับดักความไม่เท่าเทียม (Inequality trap) และกับดักความไม่สมดุลของการพัฒนา (Imbalance trap) ของประเทศไทย

    Sustainable development of the country in order to cope with the changes caused by globalization that is happening now and which are expected to occur in the future. It is necessary to build a strong economy and continue to grow. To lead to uplifting the quality of life and well-being of the country's population in the long run. According to economic theory, sustainable growth comes from the expansion of total factor productivity (TFP), not the expansion of the factors of production, including labor, capital and raw materials. Total Productivity (TFP) is a country's ability to develop a body of scientific knowledge, technology and innovation and that knowledge to increase productivity and create innovation in various sectors, both manufacturing and service sectors. 

    Thailand currently faces three traps that impede its future growth: the Middle income trap, middle trap, and Development imbalance trap. imbalance trap) and has long-standing structural problems resulting in low competitiveness. If considering the results of industrial development over the past 10 years, it was found that the average GDP growth of the industrial sector was only 3 percent per year, and the average investment was only 2 percent per year. The value of industrial exports expanded, averaging 5.4% per year and the total industry productivity (TFP) increased only 0.7% per year on average.

    As a guideline for the development of the Thai industrial sector, which is an important mechanism in driving the country's economy according to the Thailand 4.0 Development Framework, Bureau of Budget Prime Minister's Office Allocated budgets for strategic developments in science, technology, research and innovation. To strengthen Thailand to be a society based on knowledge of science and technology. Increase the proportion of the country's R&D expenditure on gross domestic product Increase the proportion of R&D personnel per population Increase the proportion of investment in research and development from the private sector to the public sector. In this regard, the budget limit for science has been established. Research and Innovation (OBD) of the fiscal year 2022 by the Office of the Science Promotion Board Research and Innovation (OSMEP) has proposed a framework for the budget for the year 2022, amounting to 24,400 million baht, or about 1 percent of the annual budget budget. 

    Data from the year 2020 found that Thailand has more than 3 million businesses, accounting for 99.8% of the total number of businesses in the country. It is important not only to reach consumer - service recipients in all areas. But more than 12 million people are still employed, accounting for 82.2% of the country's total employment. And can create an added economic value of 6,551,718 million baht, accounting for 42.2% of gross domestic product (GDP). Therefore, SMEs are one of the key mechanisms. To create long-term economic growth In the past, Thailand has encouraged SMEs in the industrial sector to grow and compete internationally as an important force in driving Thailand's economy beyond the middle-income trap. However, at present, SMEs in the industrial sector of Thailand still face problems during their business operations. Lack of application of science and technology, lack of innovation and research to increase product efficiency and added value. lack of the necessary resources or agencies that can connect specialists who meet industry needs. 

    As a result of such problems, government agencies such as the Office of Science Policy, National Science and Technology Development Agency (NSTDA), National Science and Technology Development Agency (NSTDA), Office of the Secretariat of the Science Park Business Promotion Committee (TSI), etc. It is imperative to establish a project to support research and development. Development of SMEs in the industrial sector. Its main mission is to create a link between technology service providers and technology users in the form of providing technical expertise. Promote the industrial sector towards the development of science, technology and innovation with appropriate technology transfer mechanisms. 

    Cybernetics+ is another unit that provides business consulting services, digital solutions, and data security, which is an integration of knowledge from experts of the company. Cybernetics+ to enhance the business competitiveness of industrial SMEs and the ultimate aim is to escape the middle income trap, the inequality trap and the imbalance trap of Thailand.

เอกสารอ้างอิง :

รัตนศักดิ์ วรรณกุล. (2562). การเลือกโครงการวิจัยและพัฒนาของภาคอุตสาหกรรมด้วยการตัดสินใจแบบหลายหลักเกณฑ์. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น..


ประเทศไทยเผชิญ 3 กับดัก
Rattanasak Wannakul July 25, 2022
Share this post
Our blogs
Archive