การรวบรวมข้อมูล
เป็นกระบวนการเชิงระเบียบวิธี อย่างหนึ่ง สิ่งสำคัญคือต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าข้อมูลของคุณ ถูกต้อง สมบูรณ์ และในระหว่างขั้นตอนการรวบรวมและถูกรวบรวมนั้น เป็นไปอย่างถูกกฎหมายและตามหลักจริยธรรม เพราะเมื่อการวิเคราะห์ของคุณ เป็นไปอย่างไม่ถูกต้อง อาจทำให้เกิดผลกระทบในวงกว้างได้
นิยามประเภทของแหล่งข้อมูล
แหล่งข้อมูลนั้น มีอยู่ 3 ประเภท คือ
ข้อมูลปฐมภูมิ (First-party data) คือ ข้อมูลที่ตัวผู้เก็บข้อมูลนั้น ได้รับมาจากแหล่งข้อมูลตรงๆ เช่น เห็นกับตาตัวเอง ประสบ หรือทราบจากเหตุการณ์ / สถานการณ์ ณ ขณะนั้น
ข้อมูลทุติยภูมิ (Second-party data) คือ ข้อมูลที่ได้รับต่อมาจากผู้ที่ไ้ด้สัมผัสกับเหตุการณ์จริง เช่น การสัมภาษณ์ การฟังเรื่องเล่า จากผู้ที่ได้ประสบกับข้อมูลปฐมภูมิ
ข้อมูลตติยภูมิ (Third-party data) คือ การรับข้อมูลมาจากผู้ที่ได้รับข้อมูล จากชั้นทุติยภูมิ

ถึงอย่างนั้น เมื่อลำดับชั้นการเก็บข้อมูลมากขึ้น ทำให้ความแน่นอน ความแม่นยำ และความน่าเชื่อถือของข้อมูลลดลง เนื่องจากการเก็บข้อมูลจากชั้นปฐมภูมินั้น จะสร้างคุณค่าได้มากกว่า เพราะจะทำให้ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรม ความคิด และความรู้สึกทั้งหมดจริงๆ ทำให้คุณภาพของข้อมูล ตรงวัตถุประสงค์ และสร้างประโยชน์ได้จริง
กำหนดปัจจัยเหล่านี้ ก่อนเก็บรวบรวมข้อมูล
- ตั้งคำถาม และลองตอบคำถามเหล่านั้นด้วยตนเอง
- มีใครบ้างที่อยู่ใน Scope คำถามเหล่านั้น
- ช่วงระยะเวลาเริ่มต้น และเวลาสิ้นสุดของการเก็บข้อมูล
- วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เหมาะสม และสร้างประสิทธิภาพที่สุด
4 วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
1. การทำแบบสอบถาม แบบสำรวจ (Survey / Questionare)
เป็นวิธีการที่รวบรวมข้อมูลทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ จากกลุ่มเป้าหมาย ณ สถานการณ์หนึ่งเช่น การดำเนินการรวบรวมคำติชมของผู้เข้าร่วมหลังกิจกรรม ซึ่งจะบ่งบอกความรู้สึกของผู้เข้าร่วมประชุม รวมถึงคำติชมต่างๆ ซึ่งจะเป็นการรวมรวบทั้งข้อที่เป็นคุณ และเป็นโทษ ซึ่งสามารถบ่งชี้ถึงปัญหา และนำมาพัฒนาต่อได้
แต่ข้อควรระวังของวิธีนี้คือ Bias ที่มาจากคำตอบที่เก็บรวบรวม และการตั้งโจทย์

2. การสัมภาษณ์ (Interview)
การสัมภาษณ์เป็นวิธีการรวบรวมข้อมูล ที่เกี่ยวข้องกับคนตั้งแต่สองคนขึ้นไป ทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านชุดคำถามและคำตอบ ซึ่งคำถามเหล่านั้น ถูกออกแบบมาเพื่อดึงข้อมูลจากผู้เข้าร่วมการสัมภาษณ์ในหัวข้อเฉพาะหรือชุดหัวข้อ ทำให้เห็นถึงปฏิกิริยา และแนวคิดได้
ซึ่งการสัมภาษณ์จะมีประโยชน์ ต่อเมื่อหัวข้อของคำถามค่อนข้างซับซ้อน ต้องการคำอธิบายที่ยาว หรือต้องการบทสนทนาระหว่างคนสองคนเพื่อตรวจสอบอย่างละเอียด

3. การสังเกต (Observe)
การสังเกต คือ การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกตผู้คน หรือกลุ่มตัวอย่าง ณ สถานที่ใดเวลาหนึ่งและวันใดวันหนึ่ง โดยพื้นฐานแล้ว นักวิจัย มักจะศึกษาพฤติกรรมของบุคคลหรือสภาพแวดล้อมที่พวกเขากำลังวิเคราะห

4. ศึกษาจากหลักฐานเดิม
การเก็บข้อมูลโดยอ้างอิงจากหลักฐานที่มีอยู่แล้ว เช่น อีเมล รายงาน บันทึก ข้อมูลในฐานข้อมูล หรือแม้กระทั่ง Minute of Meeting
ไม่จำเป็นต้องรวบรวมข้อมูล เพื่อนำมาวิเคราะห์ซ้ำ เพราะข้อมูลเหล่านั้นถูกรวบรวมไว้แล้ว
หากเก็บรวบรวมบันทึกข้อมูลเหล่านั้นอย่างเป็นระบบ จะทำให้การศึกษา และการค้นหา เป็นไปได้โดยง่าย

อย่างไรก็ตาม การเก็บรวมรวมข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อที่จะนำไปวิเคราะห์ และสร้างประโยชน์ ควรเป็นไปตามกรอบ และแนวทางของพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ซึ่งระบุถึงขั้นตอนการเก็บรวมรวม ใช้ ประมวลผล เปิดเผย และทำลายข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งกระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลนั้น ควรได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลด้วย หรือหากไม่ต้องการขอความยินยอม ก็สามารถใช้ฐานทางกฏหมายอื่นๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการของความยินยอมได้
องค์กรใดสนใจ ใช้บริการเตรียมความพร้อม และสร้างความตระหนักรู้ ต่อกฏหมาย PDPA รวมถึงประยุกต์กระบวนการขององค์กร และปรับปรุงเทคโนโลยี ช่วยจัดการข้อมูลส่วนบุคคล ให้มีประสิทธิภาพ มากขึ้นสามารถติดต่อ Cybernetics Plus หรือเลือกดูบริการทางด้าน PDPA ของเราได้ที่ https://www.cybernetics.plus/services/pdpa