งานการไม่ทำ จำแต่มุขตลก

งานการไม่ทำ จำแต่มุขตลก

Start writing here...

งานการไม่ทำ จำแต่มุขตลก

ทำไม ‘คนฮา’ และ ‘ความฮา’จึงจำเป็นต้องมีในที่ทำงาน.‘การหัวเราะเป็นยาที่ดีที่สุด’ 


three men and one woman laughing during daytime
    แล้วทำไม ‘คนฮา’ และ ‘ความฮา’จึงจำเป็นต้องมีในที่ทำงาน.‘การหัวเราะเป็นยาที่ดีที่สุด’ ใครบางคนเคยเปรียบเปรยไว้แบบนั้น.การวิจัยโดย Gallup บริษัทวิเคราะห์และให้คำปรึกษาของสหรัฐอเมริกา แสดงให้เห็นว่า หนึ่งในตัวขับเคลื่อนประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานที่ดีที่สุด คือการมี ‘เพื่อนสนิท’ ที่เราสามารถหัวเราะด้วยได้ในที่ทำงาน.อารมณ์ขันในที่ทำงานสามารถเพิ่มกำลังใจให้ทีมได้ ทำให้การทำงานสนุกขึ้น คลายความตึงเครียดเมื่องานหนัก และช่วยสร้างความไว้วางใจระหว่างทีม การช่างสังเกตและมีจังหวะปล่อยมุขที่ชาญฉลาด ยังทำให้กลายเป็นคนที่ดูน่าเข้าหา ซึ่งจะช่วยให้ความสัมพันธ์ภายในทีมมีมากขึ้นอีกด้วย
    
    บางคนอาจมองว่าความตลกในที่ทำงานเป็นเรื่องไร้สาระ แต่แท้จริงแล้ว สิ่งที่ดูเหมือนเป็น ‘ความไม่เอาจริงเอาจัง’ ก็สามารถช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายที่ ‘จริงจัง’ ในการทำงานได้เช่นกัน
    เหตุใดความตลกจึงได้ผลในการทำงาน?.มีการวิจัยที่แสดงให้เห็นว่า ผู้นำที่มีอารมณ์ขันจะถูกมองว่าเป็นคนที่มีแรงดึงดูดและได้รับความชื่นชอบมากกว่าผู้นำที่ไร้ความตลกถึง 27% รวมถึงพนักงานอยากมีส่วนร่วมกับผู้นำที่มีอารมณ์ขันมากขึ้น 15% และทีมมีแนวโน้มที่จะแก้ปัญหาในด้านความคิดสร้างสรรค์ได้เพิ่มขึ้นสองเท่า 
    ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่า‘ความตลก’ สามารถแปรเปลี่ยนเป็น ‘ผลงาน’ ที่ดีขึ้นในการทำงานได้.ส่วนหนึ่งคือการแบ่งปันเสียงหัวเราะจะช่วยเร่งความรู้สึก ‘ใกล้ชิดและไว้วางใจ’ เช่น มีผลวิจัยที่ระบุว่า เมื่อคนแปลกหน้าคู่หนึ่งถูกกระตุ้นด้วยบทสนทนา ‘ชวนหัว’ ด้วยกันเป็นเวลา 5 นาที ก่อนที่จะต้องทำแบบทดสอบเปิดเผยลักษณะนิสัยส่วนตัว 
    ผลคือทั้งคู่จะมีปฏิสัมพันธ์ที่สนิทสนมกันมากกว่าคู่ที่คุยกันโดยไม่มีการหัวเราะถึง 30% หรือแม้แต่ผลสำรวจที่ระบุว่า การที่คู่รักได้นึกย้อนถึงช่วงเวลาแห่งความตลกร่วมกัน ก็ทำให้พวกเขามีความพึงพอใจในความสัมพันธ์มากขึ้น 23% .ไม่ว่าจะเป็นบริษัทหรือองค์กรใด ก็ย่อมต้องพบเจอกับสถานการณ์ตึงเครียดเข้าสักวัน ในเวลาเช่นนี้ สมาชิกในทีมที่ดีที่สุดคือคนที่สามารถยอมรับสถานการณ์และตอบโต้ด้วยอารมณ์ขันที่ทำให้สถานการณ์คลี่คลายในทันที 
    ซึ่งความสามารถในการทำให้บุคคลอื่นหัวเราะหรือรู้สึกสบายใจนี้เอง แสดงถึงความเฉลียวฉลาด การตระหนักรู้ในตนเอง และการเห็นอกเห็นใจผู้อื่นของคนที่มีอารมณ์ขัน เช่นเดียวกันกับการที่พวก ‘สายฮา’ มักจะสามารถจัดการกับความเครียดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าคนที่เศร้าหมอง พลังของความฮาเกี่ยวข้องกับเรื่องสารเคมี เพราะเมื่อเราหัวเราะ สมองของเราจะผลิตคอร์ติซอลน้อยลง (ทำให้เกิดความสงบและลดความเครียด) และหลั่งสารเอ็นดอร์ฟินมากขึ้น (ทำให้เรารู้สึกอิ่มอกอิ่มใจ) และออกซิโทซิน (หรือมักเรียกว่าฮอร์โมนความรัก) คล้ายกับการนั่งสมาธิ ออกกำลังกาย และมีเซ็กซ์ในเวลาเดียวกัน       
    หลายคนอาจกังวลว่าตนเองไม่ใช่คนตลกจึงคิดว่าไม่ควรแม้แต่จะพยายามทำให้เพื่อนร่วมงานหัวเราะ หรือกังวลว่ามุขของตนเองจะกลายเป็น ‘มุขแป้ก’ แต่สิ่งหนึ่งที่ควรตระหนักไว้คือ ทุกคนมีความตลกในแบบของตัวเอง และผู้คนส่วนใหญ่ต่างชื่นชอบความตลกกันทั้งนั้น ตราบใดที่มันไม่ทำให้ใครเจ็บปวดและข้ามเส้นจนน่ารังเกียจหรือก้าวร้าวต่อคนอื่นอารมณ์ขันถือเป็นเวทมนตร์อย่างหนึ่งที่ไม่ว่าใครก็สามารถเรียนรู้ได้ 
โดยเฉพาะผู้นำในองค์กรหรือบริษัทที่ควรหยิบฉวยจังหวะที่เหมาะสมในการแสดงอารมณ์ขันเพื่อสร้างบรรยากาศในที่ทำงานมากขึ้น ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความผาสุกในการทำงาน ประสิทธิภาพของทีม และแม้กระทั่งผลกำไรขององค์กร.ครั้งหนึ่ง หลังจาก เบนจามิน แฟรงคลิน ลงนามในคำประกาศอิสรภาพแห่งสหรัฐฯ (United States Declaration of Independence) ซึ่งทำให้เขากลายเป็นผู้ทรยศในสายตาของราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ เขากล่าวเล่นสำนวนกับผู้ร่วมลงนามด้วยว่า “เราต้องถูกแขวนคอด้วยกันเป็นแน่แท้ ไม่อย่างนั้น เราก็ต้องถูกแยกแขวนคอนั่นละ”.
   
   " ดาบสองคมของอารมณ์ขัน บางทีก็ทำให้เราขำไม่ออก " 

    จากผลการศึกษาใหม่เรื่อง “Humor and the dark triad: Relationships among narcissism, Machiavellianism, psychopathy and comic styles” ที่ได้ทำการทดสอบจากผู้ที่มีลักษณะผิดปกติทางบุคลิกภาพ เช่น ความหลงตัวเอง (Narcissistic Personality Disorder) หรือโรคจิตเภท (Schizophrenia) เป็นต้น มีแนวโน้มที่จะใช้อารมณ์ขันในรูปแบบต่างๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายของตนเองอย่างมีนัยสำคัญ

    นักจิตวิทยา Alberto Dionigi ผู้ทำการวิจัยนี้ได้สนับสนุนคำพูดของนักเขียนชื่อดังชาวรัสเซีย Fyodor Dostoevsky ที่ว่า “เราสามารถรู้จักคนคนหนึ่งได้จากการหัวเราะของเขา” ซึ่งสิ่งนี้ชี้ให้เห็นว่าอารมณ์ขันเป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อทำความเข้าใจความคิดและลักษณะนิสัยของแต่ละบุคคล

    ตามที่ Dionigi ได้กล่าวไว้ในผลการศึกษา อารมณ์ขันเป็นโครงสร้างที่ซับซ้อนและมีหลายมิติผสมผสานกันหลากหลายแง่มุม จากนิสัยพฤติกรรม ความสามารถ ลักษณะบุคลิกภาพ และวิธีการรับมือกับปัญหา เป็นต้น

    โดย Dionigi และทีมศึกษาได้สร้างแบบสอบถาม 2 ชุดให้ผู้เข้าร่วมทำ ชุดแรกเป็นการตรวจสอบข้อมูลประชากรและบุคลิกภาพของผู้เข้าร่วม และอีกชุดเป็นการตรวจสอบอารมณ์ขัน 8 ประเภท จำแนกตาม 2 ลักษณะ ดังนี้

    1) อารมณ์ขันด้านบวก เช่น ความสนุกสนาน อารมณ์ขัน เรื่องไร้สาระ และความเฉลียวฉลาด รูปแบบเหล่านี้เป็นอารมณ์ขันเชิงบวกที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมที่ไม่เป็นพิษเป็นภัย

    2) อารมณ์ขันด้านลบ เช่น การประชด การเสียดสี การเสียดสี และการเยาะเย้ยถากถาง โดยทั่วไปแล้วรูปแบบเหล่านี้เป็นอารมณ์ขันเชิงลบ

    จากผลการศึกษาของการวิจัยนี้ Dionigi พบว่าอารมณ์ขันเหมือนกับ “ดาบสองคม” แม้ว่าอารมณ์ขันจะถูกมองเป็นความสนุกสนาน เป็นพลังบวกที่ใครๆ ต่างต้องการ แต่อีกนัยหนึ่ง อารมณ์ขันถูกใช้ในวัตถุประสงค์และวิธีการที่ผิดไปจากเดิม

    ถ้าอยากรู้จักนิสัยคน ให้ลองสังเกตอารมณ์ขันของพวกเขา
ผลการวิจัยได้ชี้ว่า ผู้ที่มีความผิดปกติทางอารมณ์ มักจะใช้อารมณ์ขันเป็นเครื่องมือในการจัดการกับผู้อื่นหรืออาจใช้อารมณ์ขันเพื่อถากถาง ทำให้ผู้อื่นรู้สึกไม่สบายใจ หรือรู้สึกต่ำต้อยกว่า

    คนประเภทนี้บางคนมักจะใช้อารมณ์ขันเพื่อเพิ่มความมั่นใจ และแสวงหาการยอมรับจากสังคม ยกตัวอย่างเช่น ผู้ที่เป็นโรคผิดปกติทางบุคลิกภาพ อย่างโรคหลงตัวเอง หรือในทางการแพทย์เรียกว่า Narcissistic Personality Disorder ที่มักจะใช้อารมณ์ขันเชิงลบเพื่อทำให้ตนเองรู้สึกมั่นคง

    ในขณะที่คนเหล่านี้ปล่อยมุกหรือทำอะไรที่พวกเขาคิดว่าเป็นเรื่องน่าตลก พวกเขาจะไม่ทราบว่าอารมณ์ขันเชิงลบของพวกเขาได้สร้างรอยร้าวและเป็นอันตรายต่อความสัมพันธ์ ซึ่งนั่นหมายความว่า แม้เราจะแสดงความไม่พอใจอย่างชัดเจน คนเหล่านี้ก็ยังคิดว่าสิ่งที่ตนทำนั้นไม่ผิด เพราะเขาจะคิดแค่ว่า “ก็เรื่องขำๆ ทำไมต้องเก็บมาใส่ใจ” สุดท้าย เราทำได้เพียงปล่อยมันผ่านไปเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น แม้ว่าเราอยากจะโต้ตอบมากแค่ไหนก็ตาม

    แต่ถ้ามองอีกมุมหนึ่งการที่ผู้คนใช้อารมณ์ขันในเชิงบวกเพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับตัวเองและต้องการเป็นที่ยอมรับจากสังคม ก็อาจจะเป็นเหตุผลเช่นเดียวกับผู้ที่ใช้อารมณ์ขันในเชิงลบ ที่ต้องการเป็นที่ยอมรับจากสังคมเช่นกัน แต่คนกลุ่มนี้อาจใช้วิธีการที่ผิดไปโดยที่ไม่รู้ตัว

    การวิจัยชิ้นนี้ทำให้เราเห็นว่าอารมณ์ขันนั้นซับซ้อนมากกว่าที่คิด โดย Sense of Humor ของแต่ละคนนั้นมีความแตกต่างกันออกไป ซึ่งอาจจะสะท้อนถึงลักษณะนิสัย มุมมอง และรวมถึงปมในวัยเด็ก หรือเรื่องอัดอั้นภายในใจที่ไม่สามารถระบายออกมาได้

    แต่เราก็ต้องยอมรับว่าทุกประสบการณ์ในชีวิต หล่อเลี้ยงและทำให้เราโตขึ้นมากลายเป็นผู้ใหญ่ในวันนี้ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าเราสามารถนำความลำบากมาแลกเป็นอภิสิทธิ์ ที่จะใช้อ้างเพื่อกดทับคนอื่น

    แม้ว่าเราจะอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงพลังลบๆ จากคนเหล่านี้ได้ แต่สิ่งที่เราทำได้คือการมองเห็นที่มาที่ไปของพลังลบๆ และเมื่อมองเห็น เราจะเข้าใจจุดประสงค์ รวมถึงลักษณะนิสัยของคนเหล่านี้มากขึ้น สิ่งนี้จะนำไปสู่การยอมรับความหลากหลาย และปล่อยวางจากคำพูดที่ไม่ควรค่าแก่การเก็บมาใส่ใจได้ง่ายขึ้นเช่นกัน


ที่มา : The Momentum
       missiontothemoon

งานการไม่ทำ จำแต่มุขตลก
Janis Sakulsirithada November 25, 2022
Share this post
Tags
Our blogs
Archive