Data-Driven Organization ดีต่อองค์กรอย่างไร?
ประโยคที่ว่า “Data is the new oil” สะท้อนโลกธุรกิจยุคดิจิทัลที่ข้อมูลได้กลายเป็นทรัพย์สินมีคุณค่าอย่างมหาศาล โดยบทความนี้ เราจะพูดถึงแนวทางการสร้าง Data-Driven Organization และ Data-Driven Culture ภายในองค์กรกันครับ
ที่มา : linkedin
ความหมายของ Data-Driven Organization
Data-Driven Organization คือ องค์กรที่ให้ความสำคัญกับการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาใช้เป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจ วางแผนกลยุทธ์การตลาดและการดำเนินงานในทุกระดับ โดยข้อมูลที่นำมาใช้จะต้องมีความเกี่ยวข้อง ถูกต้อง ทันสมัย ครอบคลุม และละเอียด เพื่อให้ตัดสินใจได้อย่างแม่นยำและเป็นปัจจุบันมากที่สุด
การเป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลควรเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบ เพื่อให้สามารถวิเคราะห์และนำข้อมูลเข้ามาใช้ในการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยองค์กรต้องพัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลให้เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการใช้ Database ที่มีความยืดหยุ่น นำเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องเข้ามาช่วย เช่น Machine Learning และ Big Data Analytics เพื่อเป็นแนวทางในการสกัดความรู้และเห็นภาพรวมขององค์กรจากข้อมูลที่มีอยู่
การเป็น Data-Driven Organization ช่วยให้องค์กรเข้าใจลูกค้าได้อย่างลึกซึ้ง ทั้งในด้านพฤติกรรม ประสบการณ์การใช้งาน และแนวโน้มของตลาด ด้วยการจัดทำระบบและเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ
เช่น การจับต้องลูกค้า ธุรกรรมการขาย แคมเปญการตลาด วิเคราะห์ข้อมูลเว็บไซต์ เป็นต้น โดยข้อมูลเหล่านี้
จะถูกแปลงเป็นข้อมูลที่มีความหมายผ่านกระบวนการวิเคราะห์และการตีความเพื่อประโยชน์ทางธุรกิจต่อไป
นอกจากนี้ การเป็น Data-Driven Organization ยังช่วยให้องค์กรสามารถตอบสนองความต้องการของตลาดได้อย่างยอดเยี่ยม เพราะสามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า และสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าในระยะยาวได้
ที่มา : onlinedegrees
มาดู Case study ของผู้ประสบความสำเร็จกันเถอะ
ตัวอย่างองค์กรที่มีการขับเคลื่อนด้วยข้อมูลอย่างสมบูรณ์แบบ ได้แก่ Coca-Cola เหตุผลที่เลือกยกกรณีศึกษาเป็น Coca-Cola เพราะ Coca-Cola เป็นบริษัทติดอันดับ 1 ใน 5 ของบริษัทที่ทรงอิทธิพล และมีมูลค่าในแบรนด์ของตัวเอง โดยเป็นบริษัทเดียวที่ไม่ใช่บริษัทด้านเทคโนโลยีในปี 2019 และล่าสุดในปี 2021 ติดอันดับที่ 6 ซึ่ง 5 อันดับแรกที่ชนะ Coca-Cola ได้แก่ Apple, Amazon, Microsoft, Google และ Samsung ที่ต่างเป็นบริษัทเทคโนโลยีโดยทั้งสิ้น
การที่ Coca-Cola ขึ้นมาถึงจุดนี้ ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่การวางกลยุทธที่ชัดเจน และมีการพัฒนาองค์กรภายในอย่างต่อเนื่อง ทั้งในมุมการบริหาร Supply Chain, การตลาด, การออกผลิตภัณฑ์ใหม่ และการโฆษณา ผลที่ได้ คือ ยอดขายที่สูงขึ้น และลดต้นทุนการทำงานภายในได้อย่างนัยสำคัญ ไม่ว่าจะเป็น การใช้ Data เพื่อวางแผนการเติมสินค้าในตู้ขายสินค้าอัตโนมัติ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยใช้ข้อมูลพฤติกรรมของผู้บริโภค และการเฝ้าสังเกตสื่อเพื่อวิเคราะห์แนวทางในการโปรโมทองค์กร
ที่มา : finance.yahoo
5 วิธี สู่การเป็น Data-Driven Organization
หากต้องการใช้ประโยชน์จากข้อมูลเพื่อให้มีการตัดสินใจและข้อมูลเชิงลึกในเชิงกลยุทธ์ที่ดีขึ้น การผลักดันองค์กรให้เป็น “Data-Driven Organization” จึงเป็นสิ่งสำคัญ ทุกคนสามารถดำเนินการตามขั้นตอนหลัก ๆ ดังต่อไปนี้ได้เลย
1) สร้าง Data-Driven Culture ภายในองค์กร
ก่อนอื่นควรเริ่มจากการส่งเสริมให้ภายในองค์กรมีสภาพแวดล้อมของข้อมูลที่มีมูลค่าแก่องค์กร พร้อมสร้างความตระหนักรู้ถึงบทบาทของข้อมูที่มีต่อการตัดสินใจ รวมถึงมีความรู้เกี่ยวกับข้อมูลที่ใช้ในการตัดสินใจแก่ทุกคนในองค์กร
ที่มา : lucidchart
2) สร้าง Data Infrastructure ที่แข็งแกร่ง
การมีโครงสร้างพื้นฐานทางข้อมูลที่แข็งแกร่งเป็นสิ่งสำคัญ จึงควรลงทุนกับเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยให้การรวบรวม จัดเก็บ และวิเคราะห์ข้อมูลมีประสิทธิภาพ ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับ Database, Data Warehouse และเครื่องมือ Data Analytics
ที่มา : netdepot
3) นำการ Data Governance เข้ามาใช้
กำหนดนโยบายความเป็นส่วนตัว ความปลอดภัย และคุณภาพของข้อมูล สิ่งนี้ทำให้มั่นใจได้ถึงความสมบูรณ์ของข้อมูลและการปฏิบัติตามกฎระเบียบ
ที่มา : linkedin
4) พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์
การวิเคราะห์จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยการลงทุนกับทักษะของ Data Science ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนากันเองภายในองค์กร หรือจ้างงานเข้ามา เพราะทักษะนี้มีค่าเป็นอย่างยิ่งกับการได้รับข้อมูลเชิงลึกที่สามารถนำไปใช้ได้จริง อันมาจากข้อมูลที่องค์กรรวบรวมไว้
ที่มา : theasianschool
5. ปลูกฝังนิสัยการใช้ข้อมูลเป็นตัวขับเคลื่อนการตัดสินใจ
ให้ทุกคนในองค์กรใช้ข้อมูลเป็นตัวนำทาง ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจในทุกระดับการทำงาน ตั้งแต่การวางแผนเชิงกลยุทธ์ไปจนถึงการดำเนินงานในแต่ละวัน
ที่มา : globsyn
อย่างไรก็ตาม การที่จะปรับเปลี่ยนหรือ transform องค์กรให้กลายเป็น Data-Driven Organization นั้นก็จำเป็นต้องสร้างวัฒนธรรมการใช้งานข้อมูลหรือ Data-Driven Culture ที่ปลูกฝังการให้ความสำคัญกับการ
จัดเก็บ วิเคราะห์ และตีความข้อมูลอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ โดยลำพังแค่ทีมงาน Data Science หรือ Business Intelligence ทีมเดียวคงไม่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับองค์กรได้อย่างยั่งยืนจึงจำเป็นต้องปลูกฝังหรือสร้างทัศนคติ (mindset) ให้ทุกคนในองค์กรเห็นคุณค่าและประโยชน์ที่จะได้รับเมื่อนำ Insights ไปประยุกต์ใช้จริงในงานของตน เช่น การสนับสนุนและเปิดโอกาสให้พนักงานทดสอบหรือทดลองประยุกต์ใช้ข้อมูลและผลการวิเคราะห์ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย (Safe/ Test environment) การสร้างวัฒนธรรมการแบ่งปันข้อมูล (Open & Sharing culture) ความโปร่งใสและต่อเนื่องเชื่อมโยงถึงจุดหมายที่ทุกคนในองค์กรเห็นภาพเดียวกัน เป็นต้น
ตัวอย่างข้อดีในการปรับเปลี่ยนองค์กรให้เป็น Data Driven Organization มีดังนี้
1) ลดการหวงแหนข้อมูลภายในองค์กร เนื่องจาก องค์กรจะต้องมีการวางนโยบายในการกำกับดูแล เก็บข้อมูล และมีมาตรฐานในการควบคุมคุณภาพข้อมูล ทำให้แต่ละคนจะรู้ว่าตนเองมีหน้าที่อย่างไรในข้อมูลแต่ละชุด มีการจัดชั้นความลับในข้อมูล ทำให้รู้ว่า ข้อมูลแต่ละชุด ใครสามารถเข้าถึงได้ ดังนั้น ข้อมูลต่าง ๆ ที่เก็บในองค์กร จะต้องมีการวางกระบวนการทำงาน ที่ชัดเจน ส่งผลให้ ข้อมูลต่าง ๆ เข้าถึงได้ยังโปร่งใส ช่วยลดการหวงเห็นข้อมูลภายในองค์กร
2) ลดการเก็บข้อมูลซ้ำซ้อนและข้อมูลขยะ เป็นผลจากการทำโครงการ Data Management ที่ทำให้ข้อมูลต่าง ๆ สามารถเชื่อมโยงกันได้ และมีการปรับปรุงคุณภาพของข้อมูล เพื่อให้ข้อมูลมีความพร้อมใช้ ทำให้รู้ว่าองค์กรมีการเก็บข้อมูลใดไว้ที่ใดบ้าง ดังนั้นจึงช่วยลดโอกาสในการเก็บข้อมูลขยะขององค์กรไปในตัว
3) ปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานให้ทันสมัยมากขึ้น จากเดิมที่อาจจะเน้นการวิเคราะห์ข้อมูลใน Excel จะเปลี่ยนเป็นการใช้เครื่องมือที่ทันสมัย เช่น การใช้โปรแกรม BI, การใช้ Cloud computing ทำให้รูปแบบการทำงานมีความ Active มากขึ้น
4) สามารถรู้ทันการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภคได้รวดเร็วขึ้น จากการใช้ประโยชน์จาก Data โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการทำ Automated Dashboard
ปัจจุบันเครื่องมือที่ใช้สร้าง Data-Driven Organization ได้อย่างดี ก็คือ ระบบ ERP (Enterprise Resource Planning) โดย ERP เป็นระบบที่ใช้ในการจัดการและวางแผนการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ขององค์กร โดยหนึ่งในทรัพยากรที่สำคัญที่สุด คือ “ข้อมูล (Data)” เพื่อให้มีการบริหารและใช้ทรัพยากรร่วมกันภายในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยเป็นระบบที่เชื่อมโยงระบบงานต่าง ๆ ขององค์กรเข้าด้วยกัน เพื่อช่วยให้การวางแผนและบริหารทรัพยากรของบริษัทนั้นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ซึ่ง Cybernetics+ เป็น Odoo Official Partner โดยอยู่ในระดับ Gold Partner ซึ่งเป็น Partner ประจำประเทศไทยที่ใช้ระยะเวลา "เร็วที่สุด" ในการอยู่ในระดับ Gold ด้วยอัตราการเติบโตของพวกเรา ซึ่งสะท้อนถึงความเชื่อมั่นที่ลูกค้ามีต่อ Cybernetics+ ถ้าหากธุรกิจของท่านมีความสนใจเกี่ยวกับ Odoo ต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมก็สามารถติดต่อทีม Cybernetics+ เพื่อพูดคุยรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่
https://www.cybernetics.plus/services/odoo-erp
สุดท้ายนี้สิ่งที่ผู้เขียนอยากจะฝากไว้ก็คือ การเริ่มต้นให้ได้สำคัญไม่น้อยไปกว่าการเริ่มต้นให้ถูก และการเป็น Data-Driven Organization ไม่ได้ขึ้นอยู่กับขนาดหรือต้องอยู่ในอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่งเท่านั้น
แต่ทุกองค์กรสามารถพัฒนาไปสู่การเป็นองค์กรที่ข้อมูลกลายเป็นเรื่องของทุกคนได้เช่นเดียวกันครับ