Business Analysis Core Concept Model

From Business Analyst Body of Knowledge V.3

        Business Analysis Core Concept Model (ฺBACCM) เป็น Concept Framework สำหรับกระบวนการวิเคราะห์ธุรกิจ เพื่ออธิบายแนวคิดในการดำเนินการวิเคราะห์ธุรกิจ และเป็นเครื่องมือสำคัญในการดำเนินการวิเคราะห์ ปรับปรุง และพัฒนาธุรกิจ โดยประกอบไปด้วย 6 แง่มุม ได้แก่ 1.การเปลี่ยนแปลง (Change) 2.ความต้องการ (Need) 3.แนวทางการแก้ปัญหา (Solution) 4.ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) 5.มูลค่า (Value) 6.บริบท (Context)

    โดยถึงแม้ทั้ง 6 ส่วนนี้จะมีความสำคัญในตัวเอง แต่ก็มีความสัมพันธ์ประสานสอดคล้องกันด้วย ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ในกระบวนการวิเคราะห์ และนอกจากนั้นยังมีความสำคัญเท่า ๆ กันในทุกแง่มุม จะขาดส่วนใดส่วนนึงไปไม่ได้ ในบทความนี้ ทีมงาน Cybernetics+ จะพาไปทำความเข้าใจแต่ละแง่มุมในกระบวนการวิเคราะห์ธุรกิจกันครับ

การเปลี่ยนแปลง (Change)

    การเปลี่ยนแปลง (Change) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงบางสิ่งบางอย่างในองค์กรเพื่อตอบสนองความต้องการของธุรกิจ เป็นกระบวนการในการปรับปรุงประสิทธิภาพขององค์กร ซึ่งจะเกิดขึ้นในกระบวนการวิเคราะห์ธุรกิจ ยกตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนรูปแบบการบันทึกบัญชี การปรับปรุงกระบวนการเบิกจ่าย เป็นต้น

ความต้องการ (Need)

    ความต้องการ (Need) หมายถึง ปัญหา หรือโอกาสทางธุรกิจที่ต้องให้ความสนใจในกระบวนการวิเคราะห์ธุรกิจ เป็นสิ่งที่จะกระตุ้นให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (Stakeholders) ดำเนินการหรือตัดสินใจบางอย่าง เช่น มีความต้องการที่จะพัฒนากระบวนการผลิต ต้องการที่จะ Lean องค์กร หรือการสร้างช่องทางการขายใหม่ ๆ

แนวทางการแก้ปัญหา (Solution)

    แนวทางการแก้ปัญหา (Solution) หมายถึงวิธีการ หรือแนวทางที่จะตอบสนองความต้องการขององค์กรในบริบทต่าง ๆ ซึ่งช่วยแก้ปัญหาที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (Stakeholder) ต้องประสบพบเจอ หรือช่วยให้ธุรกิจได้รับประโยชน์จากโอกาสใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น เช่น การนำ ERP มาใช้ควบคุมกระบวนการผลิต การเพิ่มช่องทางการขายบน Website

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder)

    ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) หมายถึงกลุ่มคน หรือบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง ความต้องการต่าง ๆ ขององค์กร หรือแม้แต่แนวทางการแก้ไขปัญหา ในการวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงพัฒนาธุรกิจนั้น มักจะเกี่ยวข้องกับหลายส่วนงาน เช่น ความต้องการในการพัฒนาระบบการบันทึกข้อมูลลูกค้า อาจจะกระทบกับกระบวนการขาย กระบวนการบัญชี เป็นต้น ดังนั้นในการวิเคราะห์ธุรกิจ

มูลค่า (Value)

    มูลค่า (Value) หมายถึง คุณค่า ประโยชน์ หรือความสำคัญที่มีต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในกระบวนการวิเคราะห์และพัฒนาธุรกิจ โดยคำว่ามูลค่า อาจหมายถึงกำไรที่เพิ่ม การพัฒนากระบวนการทำงาน หรืออาจะรวมไปถึงการลดความเสียหาย ลดความเสี่ยง ลดต้นทุน

    มูลค่านั้นแบ่งเป็นสองรูปแบบ
    1.) มูลค่าที่จับต้องได้ หมายถึงมูลค่าที่สามารถวัดได้เป็นตัวเลข เช่น ตัวเงิน ประสิทธิภาพการดำเนินงาน
    2.) มูลค่าที่จับต้องไม่ได้ หมายถึง มูลค่าที่ไม่สามารถวัดได้เป็นตัวเลข เช่น แรงจูงใจในการทำงาน ความน่าเชื่อถือของบริษัท หรือขวัญกำลังใจในการทำงาน

บริบท (Context)

    บริบท (Context) ในที่นี้หมายถึงสภาพแวดล้อมและเงื่อนไขต่าง ๆ ที่มีผลเกี่ยวเนื่องกับการเปลี่ยนแปลง เช่น ทัศนคติ ความเชื่อ คู่แข่ง วัฒนธรรมองค์กร เป้าหมาย ภาษา กระบวนการ ตัวสินค้า กฏหมาย เป็นต้น


                    ที่มา : Business Analysis Body of Knowledge® (BABOK® Guide)


ตัวอย่างคำถามที่สำคัญในกระบวนการวิเคราะห์ธุรกิจ

  • What are the kinds of changes we are doing?
  • What are the needs we are trying to satisfy?
  • What are the solutions we are creating or changing?
  • Who are the stakeholders involved?
  • What do stakeholders consider to be of value?
  • What are the contexts that we and the solution are in?


    จะเห็นได้ว่า ในการสร้างความเปลี่ยนแปลง หรือการพัฒนากระบวนการทางธุรกิจ มีหลายแง่มุมที่ต้องนำมาพิจารณาเพื่อให้การพัฒนานั้นเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทาง Cybernetics+ เองก็มีผู้เชี่ยวชาญในการทำ Business Consult & Business Process Improvement คอยให้บริการท่าน ถ้าหากสนใจ สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ : Contact Us | Cybernetics+


Business Analysis Core Concept Model
Akkarawat Mansap November 25, 2022
Share this post
Tag
#bUSINESS CONSULT
Our blogs
Archive
Sign in to leave a comment

OKR คืออะไร?
พาธุรกิจเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน ด้วย OKR