PLM คืออะไร!? ดียังไง!? ทำไมต้องมี!?

สร้างความยั่งยืนขององค์กรผ่านระบบ ERP ในแง่มุมของ Product Life Cycle Management (PLM)

บทบาทของ ERP ในการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน โดยวิธีการ Product Life Cycle Management (PLM)

ระบบ Enterprise Resource Planning (ERP) เป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถจัดการทรัพยากร
และปรับปรุงกระบวนการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันองค์กรชั้นนำในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ตระหนักถึงความสำคัญของความยั่งยืน ตามกรอบแนวคิด Product Life Cycle Management หรือ การจัดการวงจรการผลิต คงเป็นเรื่องพื้นฐานที่ผู้ประกอบการเจ้าของแบรนด์ต่าง ๆ รู้จักกันเป็นอย่างดี และใช้เป็นเครื่องมือใน
การบริหารจัดการผลิตภัณฑ์ตั้งแต่สินค้าตัวนั้นยังเป็นโครงร่างคร่าว ๆ อยู่ในสมอง ไปจนถึงเรื่องราวการจัดการสินค้าหลังปิดการขายไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ซึ่งโดยทั่วไป สินค้าชิ้นหนึ่งจะดีมากดีน้อย เป็นที่ต้องการของตลาดหรือไม่ ก็จะมี PLM นี่ล่ะเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบวัดผล และนำไปสู่การวางกลยุทธ์ทางการตลาดต่อไป หรือกล่าวง่าย ๆ มันก็คือ การประสานงานเกี่ยวกับคน ข้อมูล หรือขั้นตอนการทำงานที่อ้างอิงถึงวัฏจักรผลิตภัณฑ์ เพื่อลดความผิดพลาด ลดขั้นตอน และส่งเสริมผลิตภัณฑ์เข้าสู่ตลาดได้เร็วยิ่งขึ้น

หากในตอนนี้ ก็คงต้องบอกว่า ขั้นตอนของ PLM ไม่สามารถละเลยหรือมองข้ามคำว่า ‘ยั่งยืน’ ออกไปได้ เพราะปัจจุบันคำนี้ ไม่ได้มีความหมายเป็นเพียงแค่เทรนด์หนึ่ง แต่เรียกได้ว่าแทบจะเป็นเกณฑ์อย่างหนึ่งที่เข้ามากำกับการออกแบบผลิตภัณฑ์ชิ้นต่าง ๆ เข้าไปด้วยแล้ว

ซึ่งปัจจุบัน ในบางประเทศได้มีการปรับกฎเกณฑ์ด้านการผลิตให้เป็นไปตามเป้าหมายความยั่งยืนกันบ้างแล้ว แต่
ก็มีอีกไม่น้อยที่ยังไม่ได้กำหนดอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งเราอาจคุ้นในแง่ของการขอความร่วมมือเสียเป็นส่วนใหญ่

ดังนั้น ระบบ ERP จึงมีบทบาทสำคัญในการช่วยผลักดันให้องค์กรเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการทรัพยากร ลดผล
กระทบต่อสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืน โดยมีเครื่องมือและข้อมูลเชิงลึกที่จำเป็นสำหรับการบรรลุเป้าหมายเหล่านี้ทั่วทั้งองค์กร

ที่มา : www.durolabs.co/blog/product-lifecycle-management/


วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Product Life Cycle) 

Product Life Cycle เปรียบเสมือนการเตรียมตัวเองให้พร้อมก่อนขึ้นชก เพราะวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ คือการวิเคราะห์ประเมินสถานการณ์การตลาดที่จะเกิดขึ้น ซึ่งจะทำให้คุณรู้ว่าผลิตภัณฑ์ของคุณอยู่ในสถานการณ์ช่วงไหน เพื่อให้คุณได้เตรียมวางแผนกลยุทธ์ ต่อยอด และรับมือได้อย่างถูกต้อง โดยไม่ถูกน็อคจากตลาดไปเสียก่อน ซึ่ง Product Life Cycle มีอยู่ 4 ช่วงด้วยกัน ดังนี้

1) ช่วงแนะนำ (Introduction) - สร้างการรับรู้ มุ่งให้เกิดการทดลองใช้

ช่วงแนะนำ เปรียบเสมือนยกแรกของการเข้าสู่สังเวียนการตลาด แน่นอนว่าผลิตภัณฑ์ของเราย่อมไม่เป็นที่รู้จักและไม่ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภค สิ่งที่เจ้าของธุรกิจต้องทำในช่วงนี้ก็คือต้องสร้างการรับรู้ต่อผลิตภัณฑ์ให้ได้มากที่สุด สามารถทำได้โดยการทำสื่อโฆษณา ประชาสัมพันธ์ การจัดกิจกรรมทางการตลาด หรือการใช้ Blogger Reviewer หรือ Influencer บนโลกออนไลน์ เป็นกระบอกเสียงในการสร้าง Word of Mouth แนะนำผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่รู้จัก ซึ่งเป็นวิธีที่ไม่ว่าแบรนด์เล็กหรือแบรนด์ใหญ่ในปัจจุบันนิยมใช้กัน

2) ช่วงเติบโต (Growth) - ส่งเสริมให้เกิดความชื่นชอบในแบรนด์ ขยายช่องทางจำหน่ายให้ครอบคลุม

ช่วงเติบโต เป็นยกที่สองซึ่งเป็นผลที่เกิดจากการทำการตลาดในช่วงแรก ผลิตภัณฑ์ของเราเริ่มเป็นที่รู้จักอัตราการเจริญเติบโตของยอดขายและกำไรเพิ่มสูงขึ้นจากความต้องการของตลาดที่มีมากขึ้น ขณะเดียวกันก็เป็นผล
ให้ดึงคู่แข่งเข้ามาสู่ตลาด ซึ่งกลยุทธ์การตลาดในช่วงนี้คือ การส่งเสริมให้เกิดการชื่นชอบในแบรนด์ เช่น ถ้าเป็นสินค้าประเภทอุปโภคบริโภค (Fast Moving Consumer Goods : FMCG) ที่ลูกค้าใช้บริการหรือซื้อสินค้าเป็นประจำ เราอาจเพิ่มกิมมิคหรือฟีเจอร์ใหม่ ๆ ในการดึงลูกค้า เช่นการทำ Loyalty Program อาทิ ระบบสมาชิก บัตรสะสมแต้ม เป็นต้น หรือถ้าธุรกิจคุณเป็นทั้งผู้ผลิตและผู้จำหน่าย อาจลองพิจาณาการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในจำนวนที่มากขึ้น รวมถึงการขยายช่องทางจัดจำหน่ายให้ครอบคลุม จากเดิมที่จำหน่ายแต่เพียงหน้าร้านหรือสาขา ไปสู่ระบบ Online อย่าง E-commerce เพื่อเป็นการขยายฐานลูกค้าได้ดีอีกวิธีหนึ่งในยุคนี้

3) ช่วงอิ่มตัว (Maturity) - เพิ่มความแตกต่าง หลีกหนีคู่แข่งที่พร้อมจะเลียนแบบ

ช่วงอิ่มตัว เป็นยกที่สามส่วนแบ่งการตลาดเริ่มคงที่ ยอดขายอาจจะไม่หวือหวาหรือมีการเพิ่มขึ้นมากนักถ้าเทียบกับช่วงเติบโต แต่หากคุณหยุดพัฒนาและไม่ยอมหากลยุทธ์ใหม่ ๆ เข้ามาซับพอร์ตธุรกิจในช่วงนี้ ก็เปรียบเสมือนนักมวยที่เคลื่อนที่แต่ไม่ออกหมัดและก็จะหมดแรงในที่สุด ซึ่งกุญแจสำคัญในการอยู่รอดในช่วงนี้คือการเพิ่มความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์ เพื่อเตรียมพร้อมสู่การแข่งขันกับคู่แข่งหน้าใหม่และหน้าเก่า ที่จะกรูกันเข้ามาสาวหมัดใส่คุณแบบไม่ยั้ง ด้วยผลิตภัณฑ์ที่อาจจะก๊อปปี้จากคุณ หรือมีสินค้าใหม่ออกมาต่อกร สิ่งที่คุณทำได้ในช่วงนี้ก็คือ 

       3.1 ศึกษาวิจัยและพัฒนาสินค้าที่มีอยู่ให้ดียิ่งขึ้น เพื่อให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าอยู่เสมอ เช่น ปรับปรุงรสชาติใหม่ การปรับ Packaging ให้ดูทันสมัยหรือมีลูกเล่นมากขึ้น 

       3.2 มุ่งหาลูกค้ากลุ่มใหม่ ๆ เพิ่มเติมจากกลุ่มลูกค้ากลุ่มเดิม โดยอาจจะแตกไลน์สินค้าเพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ เช่น เดิมที่คุณขายสินค้าให้กับเด็กอย่างเดียว ก็อาจจะหันมาทำสินค้าเพื่อแม่ขึ้นมาบ้าง

4) ช่วงถดถอย (Decline) - ลดค่าใช้จ่าย รักษาลูกค้าหลัก ตัดช่องทางจำหน่ายที่ไม่ทำกำไร

ช่วงถดถอย เรียกได้ว่าเป็นยกสุดท้ายในวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ สัญญาณที่จะบ่งบอกได้ก็คือ ยอดขายเริ่มตกลงอย่างเห็นได้ชัด สิ่งที่ต้องทำก็คือ ใช้ข้อมูลทางสถิติเพื่อพิจารณาตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่คุ้มที่จะแบกไว้ เช่น ปิดสาขาหรือหน้าร้านที่เป็นภาระ ตัดผลิตภัณฑ์ที่ไม่ก่อให้เกิดกำไร โดยพิจารณาควบคู่กับภาพรวมของตลาด กรณีตลาดยังเติบโตได้ดี กิจการควรหาสาเหตุที่เกิดขึ้น แต่หากตลาดหดตัวลงเช่นเดียวกันกับยอดขายของเรา กิจการควรพิจารณาถอนตัวโยนผ้าขึ้นเวทีอำลาสังเวียนได้เลย

ที่มา : www.mindtheproduct.com/tag/product-lifecycle-management/

มาดู Case study ขององค์กรใช้ PLM ปรับตัวสู่ธุรกิจที่มีความยั่งยืน

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF มีวิสัยทัศน์มุ่งสู่ความเป็นครัวของโลก โดยให้ความสำคัญต่อความปลอดภัยในอาหาร เพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภคทั่วโลก ซึ่งที่ผ่านมาได้รับการรับรองมาตรฐานสากลอย่างครบถ้วน ขณะเดียวกันยังสามารถตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) ได้ในทุกขั้นตอน
การผลิต

หน่วยงาน R&D จะสามารถวิเคราะห์ส่วนผสมต่าง ๆ ไปพร้อมกับการตรวจสอบในแบบเรียลไทม์ว่า วัตถุดิบส่วนผสมที่ใช้นั้นเป็นไปตามกฎระเบียบของรัฐบาลและข้อจำกัดของตลาดหรือไม่ ซึ่งจะช่วยเพิ่มความรวดเร็วในการพัฒนาและสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ออกวางจำหน่ายในตลาด รวมไปถึงการเปิดโอกาสทางการตลาดใหม่ด้วย

ระบบ PLM ดังกล่าว นอกจากจะช่วยในการวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ของบริษัท และช่วยการตัดสินใจของ
ผู้บริหารแล้ว ยังช่วยให้การประสานงานกับคู่ค้าหรือ Supplier เพื่อให้ได้วัตถุดิบที่มีคุณภาพตามข้อกำหนดและความต้องการของลูกค้าเป็นไปอย่างเป็นระบบราบรื่นรวดเร็วมากขึ้น ถือว่าเป็นการช่วยยกระดับมาตรฐานของ
คู่ค้าไปด้วยพร้อม ๆ กัน ตลอดจนช่วยให้การตรวจสอบมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ของบริษัท เทียบกับข้อกำหนด 
กฎระเบียบ ข้อบังคับทางกฎหมาย ของประเทศคู่ค้า เป็นไปได้อย่างมีระบบและรวดเร็วยิ่งขึ้น

ที่มา : www.kaohoon.com/news/493648

ซอฟต์แวร์บริหารจัดการข้อมูลวงจรผลิตภัณฑ์ (Product Lifecycle Management)

ทุกองค์กรล้วนรับรู้ถึงแรงกดดันที่จะต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่ต้องการด้วยต้นทุนที่เหมาะสมและเปิดตัว
สู่ตลาดก่อนคู่แข่ง อย่างไรก็ตาม ยังมีความท้าทายหลายประการตามแต่ละอุตสาหกรรมที่องค์กรแต่ละแห่งต้องเผชิญ Cybernetics+ ตระหนักถึงความสำคัญของความแตกต่างและได้ตอบสนองความต้องการนี้ด้วย Odoo ERP โดยวิธีการดังต่อไปนี้

1) Start (เริ่มต้นกับ PLM)

สิ่งสำคัญลำดับแรก คือ การควบคุมจัดการข้อมูลทุกส่วนของผลิตภัณฑ์รวมถึง Bill of Materials และเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดให้เป็นระเบียบ และมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงภายใต้ระบบเดียวกันแล้ว ใช้ Workflow ร่วมกับกระบวนการจัดการการเปลี่ยนแปลงที่เป็นมาตรฐาน เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการสื่อสารและส่งผ่านข้อมูลระหว่างหน่วยงาน

2) Extended (ขยายคุณค่า)

ลำดับถัดมา ให้ทำการสำรวจระบบงานที่มีความเกี่ยวเนื่อง เช่น การจัดการความต้องการลูกค้า การแลกเปลี่ยนข้อมูลซัพพลายเออร์ การเชื่อมโยงระบบงานวิศวกรรมออกแบบ การผลิตและซ่อมบำรุงเข้าด้วยกัน และขยายคุณค่าของ PLM ให้ครอบคลุมไปยังระบบงานในทุกช่วงของวงจรผลิตภัณฑ์

3) Transform (พลิกโฉมธุรกิจ)

PLM สามารถนำพาองค์กรของท่านให้ไปสู่อีกขั้นด้วยโซลูชั่นที่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อวิธีการดำเนินธุรกิจ การจัดการคุณภาพผลิตภัณฑ์ การควบคุมต้นทุนและการบริหารจัดการเพื่อความยั่งยืน พร้อมวางรากฐานการพัฒนาผลิตภัณฑ์บนพื้นฐานของวิศวกรรมระบบ


บทบาทของ Cybernetics+ ในการพัฒนาโซลูชัน PLM โดย Odoo ERP ที่ยั่งยืน

Cybernetics+ นำเสนอระบบ Odoo ERP โดย Odoo ย่อมาจาก "On Demand Open Object" มีความหมายว่า การเพิ่มฟังก์ชั่นได้ตามความต้องการ นั่นเอง

Odoo คือ ระบบบริหารจัดการทรัพยากรทางธุรกิจที่สามารถบูรณาการระบบให้ทุกส่วนภายในองค์กรทำงานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ โดย Odoo ถือกำเนิดมาจากประเทศเบลเยี่ยม คิดค้นขึ้นโดย Mr. Fabien Pinckaers ในปี ค.ศ. 2002 โดยแต่เดิมมีชื่อว่า "TinyERP" จากนั้นได้เปลี่ยนชื่อเป็น "OpenERP" และได้เปลี่ยนชื่อเป็น "Odoo" และใช้มาตลอดจนถึงปัจจุบัน

การจัดการวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (PLM) ของ Odoo ERP โดย Cybernetics+

จัดการการเปลี่ยนแปลงทางวิศวกรรมด้วยการสื่อสารในแบบเรียลไทม์ (Manage engineering changes)

การจัดการการเปลี่ยนแปลงด้านวิศวกรรมให้มีประสิทธิภาพนั้นล้วนขึ้นอยู่กับการสื่อสารและ Odoo PLM คือสิ่งที่ขับเคลื่อนพลังเครือข่ายโซเชียลขององค์กร เพื่อให้คุณสื่อสารข้ามแผนกต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ให้พวกเขาติดตามแค่สิ่งที่พวกเขาต้องการ ทำให้การอนุมัติเป็นเรื่องง่ายและบทสนทนาในเอกสารก็จะถูกรวมไว้ที่เดียวแบบเรียลไทม์


รวมการจัดการเอกสารไว้ในที่เดียวสำหรับแบบสั่งงาน แผ่นงาน และเอกสารด้านคุณภาพ (Integrated Document Management)

1) ส่งต่อข้อมูลไปยังฝ่ายผลิตพร้อมเปิดการแจ้งเตือนบนแผ่นงาน หรือแผงควบคุมสำหรับศูนย์ควบคุมงาน

2) แนบเอกสารของคุณได้โดยตรงกับ BoMs, routings หรือที่อื่น ๆ

3) จัดทำเอกสารหลายเวอร์ชันได้ง่าย ๆ ด้วย Odoo PLM ที่มีประสิทธิภาพสูงและใช้ง่าย

การกำหนดรุ่นอย่างชาญฉลาด (Smart versioning)

ด้วยโหมด diff และ merge ที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ลืมเรื่องการเชื่อมต่อ EBoM และ MBoM ไปได้เลย เพราะ 
Odoo จัดเรียงทุกแผนกเข้าไว้ในเอกสารเดียว คุณสามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงในแต่ละเวอร์ชันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วย Odoo PLM คุณสามารถทำงานใน BoM หลายเวอร์ชันได้ในเวลาเดียวกัน และระบบจะนำไปใช้เฉพาะอันที่แตกต่างเพื่อให้สามารถจัดการการการเปลี่ยนแปลงหลายรายการได้

ปัจจุบัน Cybernetics+ เป็น Odoo Official Gold Partner ซึ่งเป็น Official Partner ประจำประเทศไทย

ที่ใช้ระยะเวลา "เร็วที่สุด" ในการอยู่ในระดับ Gold โดยให้บริการลูกค้าทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน ครอบคลุมขนาดธุรกิจตั้งแต่ SMEs จนถึง บริษัทมหาชนที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ (PCL) ซึ่งสะท้อนถึงความเชื่อมั่นที่ลูกค้ามีต่อ Cybernetics+ ถ้าหากธุรกิจของทุกท่านมีความสนใจเกี่ยวกับ Odoo ต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อทีม Cybernetics+ เพื่อพูดคุยรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ Odoo ERP by Cybernetics+

กล่าวโดยสรุป ระบบ ERP มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมความยั่งยืนและความคิดริเริ่มด้านการจัดการวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ภายในองค์กร ด้วยการจัดเตรียมเครื่องมือสำหรับการติดตามผล การรายงาน และการรวมมิติความยั่งยืนเข้ากับกระบวนการตัดสินใจ ส่งผลให้ธุรกิจสามารถได้รับรู้ข้อมูลเชิงลึกและติดตามข้อมูลเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าระบบ Odoo ERP โดย Cybernetics+ จะทำหน้าที่เป็นกลไกหลักที่มีส่วนสำคัญในการช่วยให้องค์กรของทุกท่านตระหนักถึงความทะเยอทะยานด้านความยั่งยืน
PLM คืออะไร!? ดียังไง!? ทำไมต้องมี!?
Rattanasak Wannakul October 25, 2023
Share this post
Our blogs
Archive
Materials Requirements Planning (MRP) มีความสำคัญอย่างไร