Acceptance Sampling for Attributes

การสุ่มตัวอย่างเพื่อการยอมรับ

วิธีการที่จะตรวจสอบและตัดสินใจ

1) ยอมรับโดยไม่ต้องมีการทดสอบ
2) ทำการทดสอบ 100%
3) Acceptance Sampling

เราจะใช้ การสุ่มตัวอย่างเมื่อ?

1) เมื่อมีการทดสอบ แบบทำลาย
2) เมื่อมีการตรวจสอบ 100% มันต้นทุนสูงมาก
3) ไม่สามารถทำการตรวจสอบ 100% ได้
4) ไม่รู้ระดับคุณภาพสินค้าของผู้ขาย

ทำการสุ่มเพื่อการยอมรับเพื่ออะไร

1) เพื่อป้องกันการยอมรับของเสีย
2) เพื่อป้องกันการปฏิเสธของดี
3) เพื่อนำข้อมูลมาใช้เป็นประวัติคุณภาพ

เมื่อทำการเปรียบเทียบ 100% Inspection

ข้อดี                                            ข้อเสีย

1) ประหยัด                                                     1) เสี่ยงในการตัดสินใจ
2) ทดสอบแบบทำลายได้                                      2) ได้รับข้อมูลน้อยกว่า
3) ผลทางจิตวิทยา                                            3) เป็นการเพิ่มขั้นตอนด้านเอกสาร
4) เมื่อส่งคืนทั้ง Lot

ชนิดของแผนการสุ่มตัวอย่าง

การตรวจสอบตารางแผนตัวอย่างมาตรฐาน 105E (MIL-STD-105E)

1) เริ่มใช้และพัฒนามาจากช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 (MIL-STD-105A)
2) เริ่มใช้ในปี 1989
3) มี 3 แผนคือ Single, Double, Multiple
4) แต่ละแผนมีความเคร่งครัด 3 ระดับ คือ Normal, Tightened, Reduced

แผนการชักตัวอย่างของมาตรฐาน MIL-STD-105E จะแบ่งระดับการตรวจสอบออกเป็นการตรวจสอบแบบทั่วไป 3 ระดับ (GI, GII และ GIII) และการตรวจสอบแบบพิเศษ 4 ระดับ (S1, S2, S3 และ S4)

1) การตรวจสอบทั่วไประดับ GI เป็นระดับการตรวจสอบที่ใช้จำนวนตัวอย่างน้อยกว่าการตรวจสอบทั่วไประดับอื่น ดังนั้นการตรวจสอบระดับนี้ทำให้ความเสี่ยงของผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้น จึงควรใช้ในกรณีที่ผู้ขายมีประวัติด้านคุณภาพที่ดี เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบ

2) การตรวจสอบทั่วไประดับ GII เป็นระดับการที่ใช้ในกรณีที่ไม่มีข้อสงสัยว่าสินค้าที่ได้รับการตรวจสอบมีค่าน้อยกว่าค่า AQL แต่ไม่ควรใช้ในกรณีที่เป็นทดสอบแบบทำลายหรือมูลค่าการทดสอบสูง โดยปกติแล้วหากไม่ได้ระบุระดับการตรวจสอบมักจะนิยมใช้ระดับการตรวจสอบระดับ GII มากที่สุด

3) การตรวจสอบทั่วไประดับ GIII เป็นระดับการตรวจสอบที่ใช้จำนวนตัวอย่างมากกว่าการตรวจสอบทั่วไประดับอื่น การตรวจสอบระดับนี้ทำให้ความเสี่ยงของผู้บริโภคลดน้อยลง แต่จะทำให้ค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบสูงขึ้น จึงควรใช้ในกรณีที่สินค้าที่ได้รับการตรวจสอบมีคุณภาพด้อยกว่าค่า AQL หรือกรณีที่ไม่ทราบประวัติด้านคุณภาพของผู้ขาย

ตาราง อักษรสำหรับแผนการชักตัวอย่างของ MIL-STD-105E



ตาราง ตัวอย่างแผนการชักตัวอย่างเชิงเดียวสำหรับการตรวจสอบแบบเคร่งเครัด (Single Sampling Plans for Tightened Inspection)

ตัวอย่าง ถ้ามีสินค้าที่ต้องการสุ่มเพื่อตรวจสอบ มีขนาดทั้งหมด 3000 ชิ้น ถ้าต้องการตรวจสอบทั่วไประดับ GII แบบเคร่งครัด ที่ค่า AQL = 1.0 จงหาแผนการชักตัวอย่างเชิงเดียวของสินค้านี้ พร้อมอธิบาย

จะเห็นได้ว่าที่อักษรรหัส K จะได้ค่า n=125, Ac=2 และ Re=3 แสดงว่า จะต้องชักตัวอย่างจำนวน 
125 ชิ้น ถ้าพบจำนวนผลิตภัณฑ์บกพร่องน้อยกว่าหรือเท่ากับ 2 ชิ้นให้ยอมรับลอต แต่ถ้าจำนวนผลิตภัณฑ์บกพร่องตั้งแต่ 3 ชิ้นให้ปฏิเสธตลอด

จากที่กล่าวมาข้างต้น ทุกท่านจะได้เห็นถึงความสำคัญของการสุ่มตัวอย่างเพื่อการยอมรับ ตลอดจนกระบวนการด้านคุณภาพ (Quality) และเห็นถึงความยุ่งยาก หากกระบวนการสุ่มตัวอย่างดังกล่าวต้องคำนวณและทำด้วยมนุษย์ในทุก ๆ ครั้ง อีกทั้งความผิดพลาดที่เกิดจากมนุษย์ (Human Error) ถ้าธุรกิจของท่านมีกระบวนการผลิตสินค้า คลังสินค้า และมีการตรวจสอบคุณภาพอย่างสม่ำเสมอ เราขอแนะนำโมดูล Inventory และ Quality ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบ Odoo ERP ซึ่งสามารถ
ตอบโจทย์ความต้องการด้านกระบวนการด้านคุณภาพของธุรกิจหลากหลายประเภท
 หากสนใจบริการสามารถติดต่อ

 https://www.cybernetics.plus/services/odoo-erp

Acceptance Sampling for Attributes
Rattanasak Wannakul October 25, 2022
Share this post
Tag
#bUSINESS CONSULT
Our blogs
Archive
Sign in to leave a comment

Data Migration
Move your business to Odoo