A Brief History of ERP

Development path of enterprise resource planning (ERP)

    แนวคิด ERP ถูกริเริ่มในช่วงปี ค.ศ. 1990 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา จุดเริ่มต้นของ ERP มาจากแนวคิดการพัฒนาระบบการวางแผนการผลิตและควบคุมวัสดุ (Material Requirements Planning, MRP System)
ของอุตสาหกรรมการผลิตในอเมริกา โดยแนวคิดของ ERP นั้นพัฒนามาจาก MRP ซึ่งความเป็นมาของ MRP โดยสังเขปมีความเป็นมาอย่างไร และทำไมจึงพัฒนามาเป็น ERP ได้ ซึ่งช่วยให้สามารถเข้าใจความหมายของ ERP
ได้ดียิ่งขึ้น และโดยแนวคิด ERP เองมีวิวัฒนาการอยู่เป็นระยะ จาก ERP เป็น Extended ERP และพัฒนาไปเป็น Next Generation ERP ต่อไปในอนาคต

    1. จุดเริ่มต้นของ MRP แนวคิด MRP ถูกคิดค้นขึ้นครั้งแรกที่สหรัฐอเมริกาในช่วงต้นของทศวรรษ 1960
ซึ่งในช่วงแรก MRP ย่อมาจาก Material Requirement Planning หรือการวางแผนความต้องการวัสดุ
โดยเป็นกระบวนการในการหาประเภทและจำนวนวัสดุที่ต้องใช้ในการผลิตสินค้าตามตารางเวลาและจำนวนสินค้า
ซึ่งถูกวางแผนโดย MPS (Master Production Schedule)

    2. Closed Loop MRP ต่อมาในยุคปี ค.ศ. 1970 แนวคิด MRP ได้รับการพัฒนาให้มีความสามารถในการป้อนกลับข้อมูลการผลิตจริงในพื้นที่ผลิต นอกจากนั้นยังเพิ่มแนวคิดเรื่อง ระบบวางแผนความต้องการกำลังผลิต (Capacity Requirement Planning)

    3. การพัฒนาไปสู่ MRP II จากความสำเร็จของ Closed Loop MRP จึงเกิดการพัฒนาต่อยอดขึ้นเป็น MRP II ในช่วงปี ค.ศ. 1980 (โดย MRP ใหม่นี้ย่อมาจาก Manufacturing Resource Planning) ซึ่งรวบรวมการวางแผนและบริหารทรัพยากรการผลิตอื่น ๆ นอกจากการวางแผนและควบคุมกำลังการผลิต และวัตถุดิบการผลิต เข้าไปในระบบด้วย

    4. จาก MRP II ไปเป็น ERP โดย MRP II นั้นเป็นแนวคิดที่ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิต ส่วน ERP ได้ขยายแนวคิดของ MRP II ให้สามารถใช้ได้ทั้งองค์กรของธุรกิจที่มีความหลากหลาย โดยทำการรวบรวมทั้งระบบงานหลักและงานย่อยในองค์กรเข้ามาอยู่ในระบบเดียวกัน

    ERP เป็นระบบ Software ที่ใช้ในการบริหารจัดการได้ทั้งองค์กร โดยข้อมูลทั้งหมดอยู่ในฐานข้อมูลเดียวกัน รวบรวมข้อมูลทุกอย่างไว้ที่เดียวกัน เป็นการป้องกันความซ้ำซ้อนของข้อมูล ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน เกิดการเชื่อมโยงข้อมูลสูงสุด โดยแต่ละส่วนงานสามารถดึงข้อมูลส่วนกลางที่ตัวเองสนใจและมีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูลมาวิเคราะห์ได้ และสามารถบูรณาการข้อมูลทั้งหมดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็น Marketing Manufacturing Accounting และ Staffing

    ก่อนที่จะมีการใช้งานระบบ ERP นั้น เดิมทีในวงการอุตสาหกรรมประมาณช่วงทศวรรษ 1960 ได้มีการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยคำนวณความต้องการวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต หรือที่เรียกเป็นทางการว่าระบบ Material Requirement Planning (MRP) คือเราจะใช้ระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการบริหารจัดการใน
ส่วนของวัตถุดิบ (Material) ที่ใช้ในกระบวนการผลิตเท่านั้น ต่อมาในช่วงทศวรรษ 1970 ระบบการผลิตในอุตสาหกรรมมีความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้นจึงมีการใช้งานระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในส่วนการผลิตในด้านเครื่องจักร (Machine) และส่วนของการเงิน (Money) นอกเหนือไปจากส่วนของวัตถุดิบ (Material) ซึ่งเรา
จะเรียกระบบงานเช่นนี้ว่า Manufacturing Resource Planning (MRP II)

     มาถึงจุดนี้เราจะสามารถเห็นภาพคร่าว ๆ ของการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการบริหารงานในอุตสาหกรรมได้ ดังที่มีผู้เชี่ยวชาญทางด้านการจัดการองค์กรหลายท่านได้กล่าวไว้ว่า ระบบ MRP นั้นจะเข้ามา
ช่วยในการบริหารจัดการทางด้าน Material ส่วนระบบ MRP II นั้นจะเข้ามาช่วยในการจัดการใน M อีกสองตัวนอกจาก Material ก็คือ Machine และ Money ซึ่งตัวอย่างระบบ MRP II ที่ชื่อ TIMS ของประเทศนิวซีแลนด์ จะมีเมนูหลัก 3 Module คือ Financial Accounting , Distribution และ Manufacturing และใน Module ของ Manufacturing จะมีส่วนของ MRP รวมอยู่ด้วย

     จากดำเนินงานที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าในการนำเอาระบบ MRP II เข้ามาช่วยเหลืองานในองค์กรหนึ่ง ๆ นั้น
จะยังไม่สามารถสนับสนุนการทำงานทั้งหมดในองค์กรได้ นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นของระบบ ERP ซึ่งจะรวมเอาส่วนของ M ตัวสุดท้ายก็คือ Manpower เข้าไปไว้ในส่วนของระบบงานที่เรียกตัวเองว่า ERP นั่นเอง ดังนั้นระบบ ERP จึงเป็นระบบที่ใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรทั้งหมดในองค์กร (Enterprise Perspective) หรือ
เรียกได้ว่าระบบ ERP เป็นระบบที่ใช้ในการจัดการ 4 M ซึ่งประกอบไปด้วย Material, Machine, Money และ Manpower นั่นเอง ดังนั้น เมื่อสังเกตไปที่เมนูหลักของระบบ ERP จะพบว่ามีเมนูของทั้ง MRP และ MRP II รวมอยู่ด้วยเนื่องจาก ERP มีจุดเริ่มต้นมาจากระบบ MRP และ MRP II นั่นเอง

     ERP จะเน้นให้ทำ Business Reengineering เพื่อปรับปรุงระบบให้เข้ากับ ERP ซึ่งจะแบ่ง Function Area เป็น 4 ส่วนหลัก ๆ คือ

    1. Marketing Sales

    2. Production and Materials Management

    3. Accounting and Finance

    4. Human Resource

    แต่ละส่วนงานจะมี Business Flow Process อยู่ในนั้น ซึ่งมีหลากหลาย Business Activity มาประกอบ
ร่วมกัน เช่น กิจกรรมการออกใบแจ้งหนี้ (Invoicing) ซึ่งแต่ละกิจกรรมจะดำเนินไปอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็น
กระบวนการทำงานที่เรียกว่า “Computer Order Management” ซึ่งเกี่ยวข้องกับ Functional Area ที่เรียกว่า “Marketing and Sale” โดยสรุปแนวคิดหลักของระบบ ERP คือ การรวบรมข้อมูลทุกอย่างของแต่ละแผนกมา บูรณาการ (Integrate) และ แบ่งปัน (Share) ข้อมูลซึ่งกันและกัน เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงานขององค์กร

เอกสารอ้างอิง

อิทธิ ฤทธาภรณ์. (2546). สู่การเป็นผู้นำในการใช้ ERP: Enterprise Resource Planning. กรุงเทพมหานคร: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี

ปรีชา พันธุมสินชัย, อุทัย ตันละมัย. (2547). ERP-เผยวิธีทำจริง. โครงการหนังสือวิชาการสมาคมไทยโลจิสติกส์และการผลิต กรุงเทพ.

พราเมร ศรีปาลวิทย์. (2549). ERP เชื่อมโยงทรัพยากรสู่ความสำเร็จ. Quality the First Quality Magazine in Thailand.

A Brief History of ERP
Rattanasak Wannakul May 17, 2022
Share this post
Tag
#bUSINESS CONSULT
Our blogs
Archive
Sign in to leave a comment

What is an ERP system?
internal management system. Information is recorded in a central location.